ISO9001 คืออะไร? มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ที่ทุกโรงงานต้องมี [อัพเดต 2023]
ISO9001 คือ มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (QMS) เป็นมาตรฐานที่ได้รับความแพร่หลายทั่วโลก และทั่วโลกให้ความสำคัญ
ISO9001 คือ
ISO9001 คือ มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System: QMS) ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นมาตรฐานที่ได้รับความแพร่หลายทั่วโลก และทั่วโลกให้ความสำคัญ เพราะจะมีการควบคุม และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
โดย ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization ซึ่งเป็นมาตรฐานในการวัดคุณภาพขององค์กร โรงงาน ต่างๆ เพื่อรับรองระบบการบริหาร และการดำเนินงานขององค์กรในแต่ละประเทศ
และเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก จะมีตัวเลขต่อท้าย ISO ซึ่งจะหมายถึง จุดมุ่งหมาย / ลักษณะของมาตรฐานต่างๆ ของ ISO แต่ละระบบ
ซึ่ง ISO 9001 อยู่ในกลุ่ม ISO9000 ซึ่งจะเกี่ยวข้องในส่วนของคุณภาพการจัดการ การพัฒนาการผลิต การติดตั้ง การบริการ และการบริหารภายในองค์กร รวมถึงการพัฒนาบุคลากร โดยการจัดการอบรมต่างๆ มีการให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน มาตรฐานนี้สามารถใช้ได้กับทุกองค์กรในทุกๆธุรกิจ
มาตรฐานนี้จะสามารถช่วยให้การจัดการองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถช่วยให้องค์กร มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไปสู่ระดับสากลที่หลากหลายประเทศเป็นที่ยอมรับ โดยมาตรฐานนี้จะต้องมีการควบคุม และตรวจสอบขั้นตอน วิธีการต่างๆอย่างละเอียดถึงจะได้รับเครื่องหมายมาตรฐานนี้
จึงทำให้ ISO9001 เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากหลากหลายประเทศ และได้รับความนิยมจากองค์กรทั่วโลก จนทำให้กลายเป็นข้อกำหนดหรือเงื่อนไขทางการติดต่อค้าขาย การทำธุรกิจระหว่างประเทศ รวมถึงเครื่องหมายนี้เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคตรวจสอบเพื่อสร้างความมั่นใจในการเลือกใช้สินค้า และเพื่อยืนยันมาตรฐานในการค้าระดับสากลอีกด้วย
หลักการ ISO9001
ISO 9001 มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (QMP)
- การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Focus) จุดเน้นหลักของการจัดการคุณภาพ คือการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทุกการกระทำที่บริษัทได้ตอบโต้กับลูกค้าหมายถึงโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า การเข้าใจความต้องการของลูกค้าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ
- ความเป็นผู้นำ (Leadership) ผู้บริหารต้องสามารถสื่อสารวิสัยทัศน์ มีความเป็นผู้นำที่ทำให้ทีมงานทั้งหมดทำงานเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน
- การมีส่วนร่วมของบุคลากร (Engagement of People) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กรในการจัดทำระบบ ทุกคนในองค์กรสามารถมีส่วนร่วมในการปรับปรุงคุณภาพ ส่งเสริมการพัฒนาส่วนบุคคล การริเริ่ม และความคิดสร้างสรรค์
- การบริหารเชิงกระบวนการ (Process Approach) หลักการ Plan Do Check Act ( PDCA) ของมาตรฐาน ISO 9001 จะช่วยให้คุณส่งเสริมวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยกระบวนการทั่วทั้งองค์กรของคุณ นี่เป็นวิธีที่พิสูจน์แล้วว่าคุณสามารถวางแผนทรัพยากร จัดการกระบวนการคุณอย่างมีประสิทธิภาพ
- การปรับปรุง (Improvement) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมีความสำคัญต่อระบบการจัดการคุณภาพ ISO 9001 และควรเป็นวัตถุประสงค์หลักขององค์กร การดำเนินการตามกระบวนการเพื่อระบุความเสี่ยงและโอกาสการ ระบุและแก้ไขปัญหาที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและการวัดผลและติดตามแต่ละขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมที่ปรับปรุงการทำงานทั้งหมดอย่างต่อเนื่องและเกี่ยวข้องกับพนักงานทุกคนตั้งแต่ซีอีโอจนถึงพนักงานปฎิบัติงาน
- การตัดสินใจบนพื้นฐานของหลักฐาน (Evidence-based Decision Making) ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจ เนื่องจากการตัดสินใจมักซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนอยู่เสมอ การนำข้อเท็จจริง หลักฐานและการวิเคราะห์ข้อมูลนำไปสู่แม่นยำและความมั่นใจในการตัดสินใจมากขึ้น
- การบริหารความสัมพันธ์ (Relationship Management) การสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ หมายถึงการสร้างสมดุลระหว่างผลกำไรทางการเงินในระยะสั้นกับกลยุทธ์ระยะยาวที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน เพิ่มขีดความสามารถในการสร้างมูลค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการแบ่งปันทรัพยากรและความสามารถ และการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพ
ที่มาของ ISO9001
ISO9001 นั้นได้รับการพัฒนามาจาก ISO 9000 : 2008
โดยจะมีการเพิ่มข้อมูล มีการพัฒนาปรับปรุงมากขึ้น จะต้องมีการกำหนดแบบแผนที่ชัดเจนและมีเป้าหมายที่ชัดเจนเพิ่มยิ่งขึ้น ซึ่งก่อนหน้านั้นจะมีรหัส 9001:2008 ที่มีความสมบูรณ์ประมาณหนึ่ง แต่ปัจจุบันก็พัฒนาขึ้นมาอีกระดับ ระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015
ซึ่งเป็นการต่อยอดจากของเดิม ปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย แต่ประโยชน์ที่หน่วยงานจะได้รับ คือ ความชัดเจนของการสั่งงานในการวางแผนได้มากยิ่งขึ้น
แนวคิดสำคัญของ ISO 9001 คือ การจัดวางระบบบริหารงาน เพื่อให้ในทุกๆ กระบวนการมีประสิทธิภาพ และสามารถตรวจสอบได้ เพื่่อให้มั่นใจได้ว่าบุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนต่าง ๆ และมีการแก้ไขข้อผิดพลาด รวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิม
ประโยชน์ของ ISO9001
- สร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร เพราะมีระบบการบริหารจัดการองค์กรที่เป็นสากล โดยเฉพาะถ้าเป็นองค์กรขนาดเล็ก หรือ SMEs รับรองว่าถ้าทำ ISO 9001 แล้วองค์กรจะเพิ่มโอากสในการแข่งขันทางการตลาดได้
- เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า มาตรฐาน ISO9001 เน้นในเรื่องการให้ความสำคัญกับลูกค้า และสนใจในเรื่องความรู้สึกความคิดเห็นของลูกค้าเพื่อนำมาวิเคราะห์ ปรับปรุงองค์กรเพื่อเพิ่มพูนความพึงพอใจลูกค้า ลดข้อร้องเรียนและรับรู้ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
- ลดความเสี่ยงขององค์กร ปรับปรุงการทำงานในองค์กรและลดข้อผิดพลาดในการทำงาน ข้อกำหนด ISO มุมเน้นในเรื่องการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีข้อกำหนดให้องค์กรพิจารณาความเสี่ยงและดำเนินการจัดการความเสี่ยงขององค์กร
- ส่งเสริมความสัมพันธ์ในองค์กรและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทางองค์กรมีธุรกิจที่มีความยั่งยืนและลดอุปสรรคในการทำงาน
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กรในการจัดทำระบบ ทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม และพนักงานมีความตระหนักในการทำงานอย่างมีระบบและมีการจัดการการทำงานที่มีคุณภาพ
วิธีการขอคำรับรอง ISO
- เลือกมาตรฐานที่เหมาะกับองค์กร ถ้าคุณจะขอรับรองมาตรฐาน คุณต้องเลือกก่อนว่าคุณจะขออะไรในมาตรฐาน ISO เพราะ ระบบนี้มี 4 มาตรฐานคือ ISO9001, ISO27001, ISO14001 และ ISO45001
- หาผู้ตรวจประเมินรับรอง (Certification Body: CB) หน่วยงานที่ให้การรับรองมาตรฐานระดับสากลจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร ในการประเมิน ดังนั้นควรศึกษาหาผู้ตรงจรับรอง หรือ CB ของคุณ
- ให้ผู้ช่วยจัดทำระบบ หากคุณสามารถหาผู้ช่วยเพื่อช่วยให้การจัดทำระบบ ISO เป็นไปอย่างราบรื่น ก็จะช่วยทำให้บริษัทผ่านไปได้ด้วยดี
- เข้ารับการตรวจประเมิน 1
- การพัฒนาระบบการจัดการขององค์กร
- การตรวจประเมิน 2
ISO90001 อยู่ได้กี่ปี
ใบรับรอง ISO9001 หรือ ใบรับรองระบบการบริหารงานคุณภาพนี้ ควรจะได้รับการต่ออายุการรับรองทุกๆ 3 ปี และควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริษัทยังคงได้มาตรฐานและเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
ISO9001 จึงเป็นระบบบริหารงานคุณภาพที่เป็นมาตรฐานสากล โดยเป็นเครื่องหมายที่รับประกันคุณภาพ วัดผลโดยมีการควบคุม และตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบที่ระบุขั้นตอนและวิธีการทำงาน ดังนั้นทุกโรงงาน หรือทุกธุรกิจจำเป็นต้องมี เพื่อเพิ่มโอกาสหลายหลายด้านในการทำธุรกิจ ทำให้ธุรกิจเป็นระบบระเบียบชัดเจน มีโครงสร้างองค์กรที่ได้มาตรฐาน ซึ่งนอกจาก ISO ก็ยังมีมาตรฐานอีกมากมาย เช่น GHP HACCP เป็นต้น
อีกทั้งยังพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถที่ดีในการปฏิบัติงาน เพื่อให้องค์กรเป็นเลิศด้านการบริหาร สามารถสู้กับคู่แข่งในทางธุรกิจได้ และเพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในการเลือกใช้บริการ หรือเลือกใช้สินค้านั้นนั้นของบริษัท และข้อที่สำคัญก็คือ มีการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับตัวบริษัทได้อีกด้วย ทำให้องค์กรสามารถมีการพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน